ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. คำว่า อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
  ก. การเข้าจำ ข. การจำพรรษา
  ค. การปฏิบัติธรรม ง. การอดอาหาร
 
๒. อุโบสถศีล หมายถึง ศีลประเภทใด ?
  ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘
  ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๒๒๗
 
๓. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
  ก. ให้ทาน ข. ฟังเทศน์
  ค. นั่งสมาธิ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔. ปกติอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาเดือนหนึ่งกี่วัน ?
  ก. ๑ วัน ข. ๓ วัน
  ค. ๔ วัน ง. ๓๐ วัน
 
๕. ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
  ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
  ค. ตลอด ๓ เดือน ง. ตลอด ๔ เดือน
 
๖. วันใด ไม่มีในการสมาทานรักษาปฏิชาครอุโบสถ ?
  ก. วันรับ ข. วันส่ง
  ค. วันรักษา ง. วันลา
 
๗. ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาต่อเนื่องนานเท่าไร ?
  ก. ๑ เดือน ข. ๒ เดือน
  ค. ๓ เดือน ง. ๔ เดือน
 
๘. การสมาทานรักษาอุโบสถศีลประเภทใด มีอานิสงส์มาก ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. นิคคัณฐอุโบสถ
 
๙. อุโบสถศีลประเภทใด เป็นของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. นิคคัณฐอุโบสถ
 
๑๐. การสมาทานรักษาอุโบสถศีลประเภทใด มีอานิสงส์น้อย ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. นิคคัณฐอุโบสถ
 
๑๑. สรณคมน์ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ถือเอาเป็นที่พึ่ง ข. ยึดมั่นถือมั่น
  ค. ถือเป็นอารมณ์ ง. ถือฤกษ์ยาม
 
๑๒. คำว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นคำกล่าวอะไร ?
  ก. บูชาพระ ข. ประกาศอุโบสถ
  ค. รับสรณคมน์ ง. อาราธนาศีล
 
๑๓. ในไตรสรณคมน์ พระสงฆ์หมายถึงข้อใด ?
  ก. พระประธาน ข. พระประจำวัน
  ค. พระเถระ ง. พระอริยะ
 
๑๔. การสมาทานอุโบสถศีล กำหนดให้ผู้สมาทานรักษาทำเรื่องใดก่อน ?
  ก. บูชาพระรัตนตรัย ข. สมาทานศีล
  ค. ประกาศอุโบสถ ง. เจริญภาวนา
 
๑๕. ข้อใด เป็นเหตุให้ไตรสรณคมน์ขาด ?
  ก. เกิด ข. แก่
  ค. เจ็บ ง. ตาย
 
๑๖. ข้อใด เป็นเหตุให้ไตรสรณคมน์เศร้าหมอง เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ?
  ก. ทำร้่ายศาสดา ข. ขโมยพระพุทธรูป
  ค. นับถือศาสดาอื่น ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๗. บุคคลใด มีศรัทธามั่นคงที่สุดในพระรัตนตรัย ?
  ก. ปุถุชน ข. สามัญชน
  ค. โลกิยชน ง. อริยชน
 
๑๘. สงสัยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงหรือ ทำให้ไตรสรณคมน์เป็นอย่างไร ?/td>
  ก. เศร้าหมอง ข. บกพร่อง
  ค. ด่างพร้อย ง. ขาดลงทันที
 
๑๙. คำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ กล่าวเพื่อระลึกถึงใคร ?
  ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. มารดาบิดา
 
๒๐. เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺิฐิตํ ผู้สมาทานพึงรับพร้อมกันอย่างไร ?
  ก. สาธุ ภนฺเต ข. สาธุ สาธุ
  ค. สาธุ อนุโมทามิ ง. อาม ภนฺเต
 
๒๑. การสมาทานรักษาอุโบสถศีลเหมาะแก่ใคร ?
  ก. คนสูงอายุ ข. คนทำงาน
  ค. คนวัยรุ่น ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๒. การสมาทานรักษาอุโบสถศีล จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
  ก. ทานมัย ข. สีลมัย
  ค. ภาวนามัย ง. อปจายนมัย
 
๒๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อให้งดเว้นเรื่องใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เสพกาม ง. ดื่มสุราเมรัย
 
๒๔. ข้อใด เป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
  ก. เสียสติ ข. อายุสั้น
  ค. ยากจน ง. คนนินทา
 
๒๕. อุโบสถศีลข้อใด บัญญัติขึ้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของการมีชีวิต ?
  ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒
  ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
 
๒๖. ข้อใด เป็นการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
  ก. ทำสัตว์ตาย ข. ลักทรัพย์มีเจ้าของ
  ค. เสพยาบ้า ง. พูดเรื่องไม่จริง
 
๒๗. อาการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เสพกาม ง. มุสาวาท
 
๒๘. ข้อใด เป็นองค์ประกอบของการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ?
  ก. คิดจะฆ่า ข. คิดจะลัก
  ค. คิดจะเสพ ง. คิดจะพูด
 
๒๙. อาการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ลักทรัพย์ ข. เสพเมถุน
  ค. พูดเท็จ ง. ดื่มเหล้า
 
๓๐. อุโบสถศีลข้อใด กำหนดให้ถือปฏิบัติต่างจากศีล ๕ ของคนทั่วไป ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. ถือพรหมจรรย์ ง. ดื่มน้ำเมา
 
๓๑. ข้อใด คนรักษาศีล ๕ และอุโบสถศีล ต้องงดเว้นเหมือนกัน ?
  ก. ถือพรหมจรรย์ ข. พูดเท็จ
  ค. ฟ้อนรำ ง. ขับร้อง
 
๓๒. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อ ๓ ต้องงดเว้นเรื่องใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เสพกาม ง. ดื่มสุรา
 
๓๓. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ เกิดขึ้นได้ทางใด ?
  ก. กายกับวาจา ข. กายกับใจ
  ค. วาจากับใจ ง. กายวาจาและใจ
 
๓๔. องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ขาด ?
  ก. เรื่องไม่จริง ข. คนอื่นเข้าใจ
  ค. พยายามพูด ง. คิดจะพูดให้ผิด
 
๓๕. อุโบสถศีลข้อที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อให้สำรวมระวังเรื่องใด ?
  ก. การพูด ข. การกิน
  ค. การนอน ง. การคิด
 
๓๖. ข้อใด เป็นเหตุแห่งความประมาทในการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. พูดปด ง. ดื่มน้ำเมา
 
๓๗. องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ขาด ?
  ก. ดื่มให้ล่วงลำคอ ข. จิตคิดจะดื่ม
  ค. พยายามดื่ม ง. มองคนดื่ม
 
๓๘. การสมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ มุ่งถึงความมีคุณธรรมใด ?
  ก. ความมีเมตตา ข. ความซื่อสัตย์
  ค. ความไม่ประมาท ง. ความสามัคคี
 
๓๙. เครื่องดื่มชนิดใด เป็นข้อห้ามสำหรับผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล ?
  ก. น้ำผึ้ง ข. น้ำชา
  ค. น้ำจัณฑ์ ง. น้ำอ้อย
 
๔๐. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเวลาใด ?
  ก. เที่ยงวัน ข. บ่ายโมง
  ค. ย่ำค่ำ ง. เที่ยงคืน
 
๔๑. ข้อใด เป็นองค์ประกอบการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ?
  ก. พยายามฆ่า ข. พยายามลัก
  ค. พยายามกลืนกิน ง. พยายามเสพ
 
๔๒. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ต้องงดเว้นเรื่องใด ?
  ก. อาหารค่ำ ข. พูดคำหยาบ
  ค. ร้องเพลง ง. สูบบุหรี่
 
๔๓. การดูเช่นไร ไม่เป็นข้าศึกต่อกุศล ?
  ก. คอนเสิร์ต ข. ดวงชะตา
  ค. มหรสพ ง. อาการ ๓๒
 
๔๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษาตัดกังวลเรื่องใด ?
  ก. การกินอาหาร ข. การแต่งตัว
  ค. การนอน ง. การเมาสุรา
 
๔๕. ข้อใด ไม่ใช่ข้อห้ามในการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
  ก. ฟ้อนรำ ข. ขับร้อง
  ค. อาหาร ง. แต่งตัว
 
๔๖. คำว่า เป็นข้าศึกต่อกุศล ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงข้อใด ?
  ก. การฟ้อนรำ ข. การขับร้อง
  ค. การแต่งตัว ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๗. ที่นอนประเภทใด ที่ทรงอนุญาตให้ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลนอนได้ ?
  ก. ที่นอนสูงใหญ่ ข. ที่นอนยัดนุ่น
  ค. ที่นอนยัดสำลี ง. ที่นอนยัดผ้า
 
๔๘. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษาตัดกังวลเรื่องใด ?
  ก. เรื่องกิน ข. เรื่องนอน
  ค. เรื่องเที่ยว ง. เรื่องแต่งตัว
 
๔๙. การสมาทานรักษาอุโบสถศีลจะได้รับผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไร ?
  ก. การกระทำ ข. บุญบารมี
  ค. โชควาสนา ง. ชะตากรรม
 
๕๐. คำว่า สีเลน โภคสมฺปทา เป็นคำกล่าวอะไร ?
  ก. ประกาศอุโบสถศีล ข. อาราธนาศีล
  ค. สมาทานศีล ง. บอกอานิสงส์ศีล
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  สนามหลวงแผนกธรรม ปัญหาและเฉลยข้อสอบ พ.ศ.๒๕๖๐. หน้า
สำเนาข้อสอบจริง สอบวันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐.
 

ข้อสอบสนามหลวง