ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. กุศลส่วนพิเศษที่คฤหัสถ์ควรบำเพ็ญให้ยิ่งกว่าศีล ๕ คืออะไร ?
  ก. ถวายสังฆทาน ข. ฟังเทศน์
  ค. ถืออุโบสถ ง. นั่งสมาธิ
 
๒. การรักษาศีล จัดเข้าในศาสนพิธีประเภทใด ?
  ก. ทานพิธี ข. บุญพิธี
  ค. กุศลพิธี ง. ปกิณกะ
 
๓. ข้อใดเป็นความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการักษาศีล ?
  ก. ได้พักการงาน ข. ได้ทำบุญกุศล
  ค. ได้ชำระจิตใจ ง. ได้ชำระบาป
 
๔. เข้าบ้านต้องผ่านประตู แรกเข้าสู่พระพุทธศาสนาต้องเข้าถึง
อะไร ?
  ก. พิธีกรรม ข. พระรัตนตรัย
  ค. ประเพณี ง. การอุปสมบท
 
๕. เพราะเหตุใด พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จึงได้ชื่อว่าสรณะ?
  ก. เป็นที่พึ่งแก่ผู้นับถือ ข. ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  ค. เป็นที่บวงสรวงบูชา ง. เป็นที่บนบานขอพร
 
๖. โลกไม่มีพระอาทิตย์ก็มืดมน คนไม่มีพระรัตนตรัยจะเป็นอย่างไร ?
  ก. ขาดที่พึ่งทางกาย ข. ขาดที่พึ่งทางใจ
  ค. ขาดหลักบริหาร ง. ขาดบริวารดูแล
 
๗. พระธรรม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติอย่างไร ?
  ก. ให้มีชื่อเสียง ข. ให้คนยกย่อง
  ค. ให้คนนับถือ ง. ไม่ให้ตกที่ชั่ว
 
๘. ใครประกาศคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้คนรู้จักบาปบุญคุณ
โทษ ?
  ก. พระสงฆ์ ข. อาชีวก
  ค. ปริพาชก ง. นิครนถ์
 
๙. สรณคมน์ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. การไหว้พระสวดมนต์
ทุกวัน
ข. การถึงพระรัตนตรัยเป็น
ที่พึ่ง
  ค. การถวายข้าวพระเป็น
ประจำ
ง. การบูชาด้วยดอกไม้
ธูปเทียน
 
๑๐. อะไรเป็นสาเหตุแห่งการขาดสรณคมน์ ?
  ก. เกิด ข. แก่
  ค. เจ็บ ง. ตาย
 
๑๑. ข้อใด เป็นความเศร้าหมองแห่งสรณคมน์ เพราะความไม่เอื้อ
เฟื้อ ?
  ก. ทำร้ายพระศาสดา ข. ห้ามไหว้พระพุทธรูป
  ค. นับถือศาสดาอื่น ง. ความตายมาปรากฏ
 
๑๒. ข้อใด เป็นความเศร้าหมองแห่งสรณคมน์ เพราะความสงสัย ?
  ก. สวรรค์มีจริงหรือ ข. น้ำท่วมโลกจริงหรือ
  ค. โลกร้อนจริงหรือ ง. มีคลื่นยักษ์จริงหรือ
 
๑๓. ความมีศรัทธามั่งคงในพระรัตนตรัย ควรถือใครเป็นแบบอย่าง ?
  ก. พระเทวทัต ข. พระวักกลิ
  ค. สุปปพุทธกุฏฐิ ง. ท้าวสักกะ
 
๑๔. การถืออุโบสถนอกพุทธกาล เน้นวิธีรักษาในเรื่องใด ?
  ก. อดอาหาร ข. ถือสรณคมน์
  ค. ถือศีล ๘ ง. รักษาตามกาล
 
๑๕. ข้อใด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอุโบสถนอกพุทธกาล ?
  ก. อดอาหาร ข. บำเพ็ญตบะ
  ค. สรณคมน์ ง. ถือตามกาล
 
๑๖. ข้อใด ไม่ใช่อุโบสถที่จัดตามวันรักษา ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. ปาฏิหาริยอุโบสถ
 
๑๗. อุโบสถที่ผู้สมาทานตั้งใจรักษา โดยไม่เห็นแก่นอนมากนัก
ตรงกับอุโบสถประเภทใด ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. นัคคัณฐอุโบสถ ง. ปาฏิหาริยอุโบสถ
 
๑๘. การถืออุโบสถอย่างวิธีของพวกนิครนถ์ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. นิคคัณฐอุโบสถ
 
๑๙. การถืออุโบสถ ให้เวลาล่วงไปด้วยเรื่องบุญกุศลเท่านั้น
มีอานิสงส์มากกว่าอุโบสถประเภทอื่น ตรงกับข้อใด ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. อริยอุโบสถ
  ค. นิคคัณฐอุโบสถ ง. ปกติอุโบสถ
 
๒๐. คนรับจ้างเลี้ยงโค เป็นคำเปรียบเทียบอุโบสถประเภทใด ?
  ก. นิคคัณฐอุโบสถ ข. ปกติอุโบสถ
  ค. โคปาลกอุโบสถ ง. อริยอุโบสถ
 
๒๑. ปกติอุโบสถ กำหนดให้รักษาเดือนหนึ่งกี่วัน ?
  ก. ๑ วัน ข. ๓ วัน
  ค. ๔ วัน ง. ๓๐ วัน
 
๒๒. หากรักษาปฏิชาครอุโบสถในวัน ๘ ค่ำ วันรับวันส่งจะเป็นกี่ค่ำ ?
  ก. ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ ข. ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ
  ค. ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ ง. ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ
 
๒๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้รักษาต่อเนื่องกันไปนานเท่าไร ?
  ก. ๑ วัน ข. ๓ วัน
  ค. ๓ เดือน ง. ๔ เดือน
 
๒๔. การถือศีลด้วยวิธีใด เรียกว่ารักษาอุโบสถ ?
  ก. กินอาหารมังสวิรัติ ข. งดอาหารเวลาวิกาล
  ค. ไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ ง. ไถ่ชีวิตโคทุกวันพระ
 
๒๕. การถือศีลในวันใด ไม่เรียกว่ารักษาอุโบสถ ?
  ก. วันธรรมดา ข. วัน ๘ ค่ำ
  ค. วัน ๑๔ ค่ำ ง. วัน ๑๕ ค่ำ
 
๒๖. บุญกุศลที่ได้จากการถืออุโบสถนั้น เกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด ?
  ก. สมาทานศีล ข. ตั้งใจสวดมนต์
  ค. งดเว้นข้อห้าม ง. ถือจนครบเวลา
 
๒๗. วิธีสมาทานอุโบสถทุกวันนี้ นิยมสมาทานด้วยวิธีใด ?
  ก. เปล่งวาจา ข. ถือเพศ
  ค. อธิษฐาน ง. ถือสัตย์
 
๒๘. อุโบสถที่สมาทานแล้ว ได้ชื่อว่ามีศีลบริบูรณ์ เพราะสาเหตุใด ?
  ก. ไม่ละเว้น ข. ไม่ละเมิด
  ค. ไม่ครบองค์ ง. ไม่ครบวัน
 
๒๙. พระสงฆ์ให้ศีล ๘ แต่รับเพียง ๕ ข้อ เรียกว่าอุโบสถอะไร ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. ไม่เรียกว่าอุโบสถ
 
๓๐. การถืออุโบสถศีลในสถานที่ไม่มีพระสงฆ์ จะสมาทานที่ไหน ?
  ก. บ้าน ข. โรงเรียน
  ค. ป่าช้า ง. ได้ทุกที่
 
๓๑. อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ จัดเป็นบัญญัติประเภทใด ?
  ก. พุทธบัญญัติ ข. ธาตุบัญญัติ
  ค. สาวกบัญญัติ ง. วินัยบัญญัติ
 
๓๒. วันปัณณรสี ในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ?
  ก. วัน ๗ ค่ำ ข. วัน ๘ ค่ำ
  ค. วัน ๑๘ ค่ำ ง. วัน ๑๕ ค่ำ
 
๓๓. คำว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺงฺคสมนฺนาคตํ อุโบสถํ ยาจาม
เป็นคำกล่าวอะไร ?
  ก. อาราธนาศีล ข. อาราธนาธรรม
  ค. บูชาข้าวพระ ง. ถวายสังฆทาน
 
๓๔. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับระเบียบพิธีถืออุโบสถ ?
  ก. ประกาศองค์อุโบสถ ข. อาราธนาศีล
  ค. อาราธนาพระปริตร ง. สมาทานศีล
 
๓๕. อุโบสถของพวกนิครนถ์นักบวชนอกศาสนา มีข้อห้ามอย่างไร ?
  ก. ห้ามทุกเรื่อง ข. ห้ามบางเรื่อง
  ค. ห้ามอดข้าว ง. ไม่มีข้อห้าม
 
๓๖. คำว่า อพรหมจรรย์ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๓ หมายถึงอะไร ?
  ก. การล่วงประเวณี ข. การร้องเพลง
  ค. การดื่มสุราเมรัย ง. การอดอาหาร
 
๓๗. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบทคือเว้นจากล่อลวงผู้อื่น คือศีลข้อใด ?
  ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๓
  ค. ข้อ ๔ ง. ข้อ ๕
 
๓๘. งดบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือศีลข้อใด ?
  ก. ข้อ ๒ ข. ข้อ ๓
  ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๖
 
๓๙. ประโยชน์การสมาทานอุโบสถศีล ข้อ ๗ เพื่อตัดความกังวลใด ?
  ก. การกินอาหาร ข. การแต่งตัว
  ค. การนอนมาก ง. การเมาสุรา
 
๔๐. ข้อใด ไม่นับเข้าในข้อห้ามของอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
  ก. ฟ้อนรำ ข. ขับร้อง
  ค. จับเงิน ง. แต่งตัว
 
๔๑. การถืออุโบสถศีลข้อ ๘ บัญญัติไว้เพื่อจุดประสงค์ใด ?
  ก. ไม่เห็นแก่กิน ข. ไม่เห็นแก่นอน
  ค. ไม่เห็นแก่ตัว ง. ไม่เห็นแก่เล่น
 
๔๒. พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ผู้ถืออุโบสถศีลนั่งนอนในที่เช่นไร ?
  ก. สูงใหญ่ ข. พอเหมาะ
  ค. หลากสี ง. ประหลาด
 
๔๓. เรื่องภายนอกที่นำมาพูดในขณะถืออุโบสถศีล เรียกว่าอะไร ?
  ก. อนุปุพพีกถา ข. อริยมรรคกถา
  ค. ติรัจฉานกถา ง. อนุโมทนากถา
 
๔๔. ในขณะถืออุโบสถศีล ผู้สมาทานควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
  ก. นึกถึงองค์แห่งศีล ข. ทรมานตนให้ลำบาก
  ค. คลุกคลีอยู่ในกาม ง. พูดเรื่องทำมาหากิน
 
๔๕. ข้อใด ไม่ใช่จุดประสงค์ของการถือศีลอุโบสถ ?
  ก. เพื่อผลประโยชน์ ข. เพื่อสั่งสมบุญ
  ค. เพื่อฝึกในตัวเอง ง. เพื่อสงบจิตใจ
 
๔๖. ความตั้งใจในการถืออุโบสถศีล มีอะไรเป็นเครื่องพิจารณา ?
  ก. ตั้งใจมาแต่บ้าน ข. ตั้งใจมาทำบุญ
  ค. ตั้งใจงดเว้นโทษ ง. ตั้งใจสวดมนต์
 
๔๗. การรักษาอุโบสถศีลเช่นไร ชื่อว่ารักษาครบตามกาลที่กำหนด ?
  ก. เมื่อหิวข้าว ข. เมื่อเป็นไข้
  ค. เมื่อตายลง ง. เมื่อพ้นเวลา
 
๔๘. การถืออุโบสถศีลด้วยจิตผ่องใส หากตายในขณะนั้นจะมีคติ
เช่นไร ?
  ก. เกิดในทุคติภูมิ ข. เกิดในสุคติภูมิ
  ค. เกิดในนรกภูมิ ง. เกิดในอบายภูมิ
 
๔๙. การถืออุโบสถศีลจะได้รับผลมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอะไร ?
  ก. การกระทำ ข. บุญบารมี
  ค. โชควาสนา ง. ชะตากรรม
 
๕๐. อุโบสถศีลที่บุคคลรักษาดีแล้ว ย่อมได้รับผลสูงสุดคืออะไร ?
  ก. ทรัพยสมบัติ ข. มนุษยสมบัติ
  ค. สวรรคสมบัติ ง. นิพพานสมบัติ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๑. หน้า ๒๐๐-๒๐๙.
         

ข้อสอบสนามหลวง