ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. มนุษย์อยู่สงบสุขไม่เบียดเบียนกันทางกายวาจา เพราะมีข้อใด ?
  ก. ทาน ข. ศีล
  ค. สมาธิ ง. ปัญญา
 
๒. ก่อนสมาทานศีล พึงเปล่งวาจาถึงสิ่งใดว่าเป็นสรณะ ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. สิ่งศักดิ์สิทธิ์
  ค. พระพรหม ง. พระภูมิเจ้าที่
 
๓. พระรัตนตรัยมีความสำคัญต่อชาวพุทธ เพราะเหตุใด ?
  ก. เป็นที่อ้อนวอน ข. เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  ค. เป็นที่พึ่งที่ระลึกทางใจ ง. เป็นที่พึ่งทางกาย
 
๔. คำว่า พุทธะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ข. ผู้เสด็จไปดีแล้ว
  ค. ผู้รู้แจ้งโลก ง. ผู้จำแนกธรรม
 
๕. พระพุทธเจ้าทรงปลุกมนุษย์ให้ตื่นจากอะไร ?
  ก. กิเลส ข. กรรม
  ค. วิบาก ง. เวร
 
๖. คำว่า สุคโต หมายถึงคุณของใคร ?
  ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระอรหันต์
 
๗. คุณของพระสงฆ์ ตรงกับข้อใด ?
  ก. เป็นผู้จำแนกธรรม ข. เป็นผู้รู้แจ้งโลก
  ค. เป็นผู้ตื่น ง. เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
 
๘. สรณะ มีความหมายว่ากำจัดสิ่งใด ?
  ก. กำจัดภัย ข. กำจัดโรค
  ค. กำจัดศัตรู ง. กำจัดคู่แข่ง
 
๙. ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมย่อมได้รับผลเช่นใด ?
  ก. ไม่ตกอบาย ข. ไม่ตามคนชั่ว
  ค. ไม่ชดใช้กรรม ง. ไม่กลัวบาป
 
๑๐. ในอุโบสถศีล สรณะ หมายถึงอะไร ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. พระพุทธรูป
  ค. พระเจดีย์ ง. พระคัมภีร์
 
๑๑. พรหมายุพราหมณ์ ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ ด้วยวิธีใด ?
  ก. สมาทาน ข. มอบตนเป็นสาวก
  ค. ทุ่มเทความเลื่อมใส ง. ปฏิบัติหน้าที่พุทธบริษัท
 
๑๒. วิธีถึงสรณคมน์ที่มั่นคงที่สุด ตรงกับข้อใด ?
  ก. สมาทาน ข. มอบตนเป็นสาวก
  ค. ทุ่มเทความเลื่อมใส ง. ปฏิบัติหน้าที่พุทธบริษัท
 
๑๓. การขาดสรณคมน์ในข้อใด ไม่มีโทษ ?
  ก. ตาย ข. ทำร้ายพระศาสดา
  ค. ไปนับถือศาสดาอื่น ง. ไม่มีข้อถูก
 
๑๔. เพราะเหตุใด การขโมยพระพุทธรูป จึงทำให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
  ก. เพราะความไม่รู้ ข. เพราะเข้าใจผิด
  ค. เพราะสงสัย ง. เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
 
๑๕. สรณคมน์เศร้าหมอง เพราะไม่เอื้อเฟื้อพระสงฆ์ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ทำลายพระเจดีย์ ข. ไม่สนใจฟังธรรม
  ค. ยุยงให้แตกแยก ง. ทำลายหนังสือธรรมะ
 
๑๖. ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อมไม่ไปเกิดในที่ใด ?
  ก. พรหม ข. สวรรค์
  ค. มนุษย์ ง. อบายภูมิ
 
๑๗. อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
  ก. การเข้าจำ ข. การหยุดงาน
  ค. การเข้าวัด ง. การฟังธรรม
 
๑๘. ข้อใด เป็นจุดมุ่งหมายของการรักษาอุโบสถศีล ?
  ก. เพื่อหยุดทำการงาน ข. เพื่อหาโอกาสพักผ่อน
  ค. เพื่อขัดเกลากิเลส ง. เพื่อหาโอกาสฟังธรรม
 
๑๙. การรักษาอุโบสถ มีมาตั้งแต่เมื่อใด ?
  ก. ก่อนพุทธกาล ข. ต้นพุทธกาล
  ค. ระหว่างพุทธกาล ง. หลังพุทธกาล
 
๒๐. การรักษาอุโบสถประเภทใด ใช้เวลานานที่สุด ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. อริยอุโบสถ
 
๒๑. ในปัญจอุโปสถชาดก งูสมาทานอุโบสถเพื่อข่มกิเลสใด ?
  ก. ความรัก ข. ความโลภ
  ค. ความโกรธ ง. ความหลง
 
๒๒. การรักษาอุโบสถศีลประเภทใด ถือเวลาเป็นเกณฑ์ ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. นิคคัณฐอุโบสถ ง. อริยอุโบสถ
 
๒๓. ผู้รักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
  ก. นั่งสมาธิ ข. ฟังเทศน์
  ค. สวดมนต์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๔. การล่วงอุโบสถศีล เกิดขึ้นได้ทางทวารใด ?
  ก. กาย ข. วาจา
  ค. กายกับวาจา ง. กายกับใจ
 
๒๕. อุโบสถศีล มีกี่สิกขาบท ?
  ก. ๕ สิกขาบท ข. ๘ สิกขาบท
  ค. ๑๐ สิกขาบท ง. ๓๑๑ สิกขาบท
 
๒๖. อุโบสถประเภทใด รักษาเฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่ง ?
  ก. ปาฏิหาริยอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. ปกติอุโบสถ ง. สามัคคีอุโบสถ
 
๒๗. อุโบสถกึ่งหนึ่ง หมายถึงอะไร ?
  ก. รักษาศีลครึ่งวัน ข. รักษาศีลวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
  ค. รักษาศีลวันรับและวันส่ง ง. รักษาศีลครบ ๓ วัน
 
๒๘. อุโบสถชนิดใด มีอานิสงส์สูงสุด ?
  ก. นิคคัณฐอุโบสถ ข. โคปาลกอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. สามัคคีอุโบสถ
 
๒๙. โบราณกบัณฑิตรักษาอุโบสถ เพื่อจุดประสงค์ใด ?
  ก. ปลีกวิเวก ข. ข่มกิเลส
  ค. ทรมานกาย ง. หนีความวุ่นวาย
 
๓๐. มานะนี้ของเรา เมื่อเจริญขึ้นมีแต่จะนำไปสู่นรก เป็นความคิดของใคร
ในปัญจอุโบสถชาดก ?
  ก. งู ข. สุนัขจิ้งจอก
  ค. หมี ง. ฤาษี
 
๓๑. คำว่า ปาณะ ในปาณาติบาตนั้น ตรงกับข้อใด ?
  ก. สัตว์ ข. เทวดา
  ค. เปรต ง. อสูรกาย
 
๓๒. อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาดลง เพราะองค์แห่งศีลข้อใด ?
  ก. สัตว์มีชีวิต ข. จิตคิดจะฆ่า
  ค. มีความพยายาม ง. สัตว์ตายด้วยพยายาม
 
๓๓. อุโบสถประเภทใด นิยมรักษากันมากที่สุด ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. นิคคัณฐอุโบสถ
 
๓๔. โทษของการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 1 ตรงกับข้อใด ?
  ก. เสียสติ ข. อายุสั้น
  ค. ยากจน ง. คนนินทา
 
๓๕. เจตนาล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ข. ถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้
  ค. ละเมิดคู่ครองคนอื่น ง. พูดให้ผู้อื่นเสียประโยชน์
 
๓๖. สิกขาบทที่ ๒ แห่งอุโบสถศีล มีคำกล่าวอย่างไร ?
  ก. ปาณาติปาตา เวรมณี ข. อทินนาทานา เวรมณี
  ค. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ง. มุสาวาทา เวรมณี
 
๓๗. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ มีโทษอย่างไร ?
  ก. เสียสติ ข. อายุสั้น
  ค. ยากจน ง. คนนินทา
 
๓๘. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ มุ่งให้คนละกิเลสข้อใด ?
  ก. มานะ ข. ราคะ
  ค. โทสะ ง. ทิฏฐิ
 
๓๙. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ เกิดขึ้นได้ทางใด ?
  ก. กายกับวาจา ข. กายกับใจ
  ค. วาจากับใจ ง. กายวาจาและใจ
 
๔๐. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ มีโทษอย่างไร ?
  ก. เสียสติ ข. ขาดคนเชื่อถือ
  ค. ถูกทำร้าย ง. คนคิดปองร้าย
 
๔๑. เครื่องดื่มต้องห้ามในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ตรงกับข้อใด ?
  ก. กาแฟ ข. เมรัย
  ค. น้ำชา ง. น้ำอัดลม
 
๔๒. การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ มุ่งถึงประโยชน์เรื่องใด ?
  ก. ความสามัคคี ข. ความสัตย์
  ค. ความไม่ประมาท ง. ความมีน้ำใจ
 
๔๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ ไม่ให้ทำเรื่องใดในเวลาวิกาล ?
  ก. ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ข. กินของขบเคี้ยว
  ค. ประดับตกแต่งกาย ง. นอนที่นอนสูงใหญ่
 
๔๔. การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๖ เพื่อบรรเทากิเลสข้อใด ?
  ก. วิจิกิจฉา ข. กามราคะ
  ค. พยาบาท ง. มานะ ทิฏฐิ
 
๔๕. ผู้รักษาอุโบสถศีล ต้องเว้นการดูการละเล่น เพราะเหตุใด ?
  ก. เป็นข้าศึกแก่ฌาน ข. เป็นข้าศึกแก่สมาบัติ
  ค. เป็นข้าศึกแก่กุศล ง. เป็นข้าศึกแก่อกุศล
 
๔๖. การไล้ทาของหอมเพื่อจุดมุ่งหมายใด ได้ชื่อว่าไม่ล่วงละเมิดอุโบสถ
ข้อที่ ๗ ?
  ก. เพื่อรักษาโรค ข. เพื่อให้มีกลิ่นหอม
  ค. เพื่อให้สวยงาม ง. เพื่อให้สบายตัว
 
๔๗. การงดเว้นการนอนบทที่นอนสูงใหญ่ มุ่งบรรเทากิเลสใด ?
  ก. ความเห็นแก่ตัว ข. ความอาฆาตพยาบาท
  ค. ความลุ่มหลงงมงาย ง. ความกำหนัดยินดี
 
๔๘. ข้อว่า ศีลสามารถสร้างสวรรค์แก่มนุษย์ได้ ในวิสาขาสูตร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ใคร ?
  ก. นางสุชาดา ข. นางสามาวดี
  ค. นางวิสาขา ง. นางสุธัมมา
 
๔๙. เรื่องภายนอกที่ไม่ควรนำมาพูดในขณะถืออุโบสถศีล คืออะไร ?
  ก. อนุปุพพีกถา ข. ติรัจฉานกถา
  ค. สัมโมทนียกถา ง. อริยวงศ์กถา
 
๕๐. อุโบสถศีลที่รักษาดีแล้ว ย่อมให้อานิสงส์แก่มนุษย์อย่างไร ?
  ก. ให้บังเกิดในสวรรค์ ข. ให้มีความเสมอภาคกัน
  ค. ให้มีความปลอดภัย ง. ถูกทุกข้อ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๖๐-๒๗๐.
         

ข้อสอบสนามหลวง