ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. การถือศีลอุโบสถ เพื่อประโยชน์อะไร ?
  ก. เพื่อหยุดพักผ่อนของฆราวาส ข. เพื่อทำกิจกรรมทางพระศาสนา
  ค. เพื่อสวดปาติโมกข์ทุกวันพระ ง. เพื่อพระสงฆ์ทำอุโบสถกรรม
 
๒. การรักษาอุโบสถศีล จัดเข้าในพิธีใด ?
  ก. กุศลพิธี ข. บุญพิธี
  ค. ทานพิธี ง. ปกิณกะ
 
๓. เข้าบ้านให้เข้าทางประตู จะเข้าสู่พระพุทธศาสนา ท่านว่าทางใด?
  ก. ศีล ข. กัมมัฏฐาน
  ค. พระธรรมคำสอน ง. พระรัตนตรัย
 
๔. คำว่า “สรณะ”  หมายถึงอะไร ?
  ก. ไตรลักษณ์ ข. ไตรสิกขา
  ค. ไตรรัตน์ ง. ไตรมาส
 
๕. คำว่า “สรณคมน์”  หมายถึงอะไร ?
  ก. การยึดเอาเป็นที่พึ่ง ข. การสักยันต์ป้องกันตัว
  ค. การถือศีลกินเจ ง. การมอบตนเป็นสาวก
 
๖. ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุแห่งการขาดสรณคมน์ ?
  ก. ตาย ข. ไปเข้ารีตถือศาสนาอื่น
  ค. ลบหลู่พระภูมิเจ้าที่ ง. ลบหลู่ดูหมิ่นพระสงฆ์
 
๗. อะไรเป็นสาเหตุให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
  ก. อาราธนาศีลไม่ได้ ข. สงสัยเรื่องบาปบุญ
  ค. สมาทานศีลไม่ชัด ง. ถูกทุกข้อ
 
๘. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของคำว่า “พุทธะ” ?
  ก. ผู้รู้ ข. ผู้ตื่น
  ค. ผู้เบิกบาน ง. ผู้รู้ตาม
 
๙. การเข้าหาพระรัตนตรัยอย่างไร จึงถูกต้อง ?
  ก. สวดมนต์ภาวนา ข. แสวงหาโชคลาภ
  ค. กราบขอพร ง. วิงวอนขอหวย
 
๑๐. การถือศีลอุโบสถ เป็นกิจกรรมพิเศษอย่างหนึ่งของใคร ?
  ก. พระภิกษุ ข. คนถูกคุณไสย
  ค. หมอดู ง. อุบาสก อุบาสิกา
 
๑๑. การถืออุโบสถ มีมาแต่ครั้งใด ?
  ก. ก่อนพุทธกาล ข. สมัยพุทธกาล
  ค. หลังพุทธกาล ง. หลักฐานไม่แน่ชัด
 
๑๒. การถือศีลอุโบสถในปัญจอุโปสถชาดก เพื่อข่มอะไร ?
  ก. ความโลภ ข. ความโกรธ
  ค. ความถือตัว ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๓. ปกติอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
  ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
  ค. ตลอด ๓ เดือน ง. ตลอด ๔ เดือน
 
๑๔. ข้อใด ไม่ตรงกับวันในปฏิชาครอุโบสถ ?
  ก. วันรับ ข. วันส่ง
  ค. วันลา ง. วันรักษา
 
๑๕. ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
  ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
  ค. คราวละ ๔ เดือน ง. คราวละ ๘ เดือน
 
๑๖. ในปัญจอุโปสถชาดก ใครรักษาอุโบสถเพื่อระงับความเสียใจ ?
  ก. ฤษี ข. นกพิราบ
  ค. หมี ง. สุนัขจิ้งจอก
 
๑๗. เมื่อถึงวันอุโบสถ ใครพึงสมาทานรักษาศีลอุโบสถ ?
  ก. เจ้าอาวาส ข. พระลูกวัด
  ค. สามเณร ง. สาธุชนทั่วไป
 
๑๘. ข้อใด ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถพึงกระทำ ?
  ก. เล่าชาดก ข. แต่งหน้า
  ค. ฟังละครวิทยุ ง. เปิดกรุของเก่า
 
๑๙. คำประกาศอุโบสถ กำหนดให้ทำต่อจากขั้นตอนใด ?
  ก. บูชาพระรัตนตรัย ข. รับสรณคมน์
  ค. อาราธนาศีล ง. สมาทานศีล
 
๒๐. ข้าพเจ้าขอบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้” 
เป็นคำกล่าวอยู่ในขั้นตอนใด ?
  ก. บูชาพระรัตนตรัย ข. ประกาศอุโบสถ
  ค. รับสรณคมน์ ง. อาราธนาศีล
 
๒๑. การรับว่าจะตั้งใจปฏิบัติตามศีลที่พระให้นั้น เรียกว่าอะไร ?
  ก. อธิษฐานศีล ข. อาราธนาศีล
  ค. สมาทานศีล ง. ถือศีลอด
 
๒๒. คนไม่รู้ภาษาบาลี แต่มีศรัทธาถือศีลอุโบสถ พึงสมาทานด้วยวิธีใด ?
  ก. กล่าวตามหัวหน้า ข. กล่าวภาษาไทย
  ค. อธิษฐานเอาเอง ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๓. ข้อใด อุโบสถศีลต่างจากศีล ๕ ?
  ก. กำหนดเวลารักษา ข. ไม่กำหนดเวลารักษา
  ค. เป็นพื้นฐานของมนุษย์ ง. ไม่ใช่พุทธบัญญัติ
 
๒๔. แม้ทรัพย์ของตนเอง ก็ทำให้ผิดศีลข้อที่ ๒ ได้ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ยืมของไม่ส่งคืน ข. หลบเลี่ยงภาษี
  ค. รับซื้อขายของโจร ง. บุกรุกพื้นที่อุทยาน
 
๒๕. ทรัพย์ชนิดใด โจรลักไปไม่ได้ ?
  ก. อริยทรัพย์ ข. ทรัพย์แผ่นดิน
  ค. สังหาริมทรัพย์ ง. อสังหาริมทรัพย์
 
๒๖. อสัทธรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คืออะไร ?
  ก. ความตาย ข. การล่วงประเวณี
  ค. ความแก่ ง. ความพลัดพราก
 
๒๗. ผู้รักษาอุโบสถศีล ควรพูดจาปราศรัยอย่างไร ?
  ก. อย่าติฉิน ข. อย่านินทา
  ค. อย่าว่าร้าย ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๘. เครื่องดื่มชนิดใด ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลดื่มไม่ได้ ?
  ก. น้ำผึ้ง ข. น้ำชา
  ค. น้ำจัณฑ์ ง. กาแฟ
 
๒๙. ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ ควรสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?
  ก. เรื่องในบ้านตนเอง ข. เรื่องในบ้านคนอื่น
  ค. เรื่องสัตว์เลี้ยงน่ารัก ง. เรื่องเปรตผอมโซ
 
๓๐. ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ พึงรับประทานอาหารให้เสร็จเวลาใด?
  ก. ก่อนเพล ข. ก่อนเที่ยง
  ค. เที่ยงครึ่ง ง. บ่ายโมง
 
๓๑. ข้อใด ไม่ใช่กิจจำเป็นของผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ ?
  ก. อดข้าวเย็น ข. เดินจงกรม
  ค. สวดมนต์ ง. ฟังปาติโมกข์
 
๓๒. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ ให้งดเว้นอะไร ?
  ก. อาหารค่ำ ข. พูดคำหยาบ
  ค. ร้องเพลง ง. สูบบุหรี่
 
๓๓. การดูเช่นไร ไม่เป็นข้าศึกแก่กุศล ?
  ก. ดูพระเครื่อง ข. ดูดวงชะตา
  ค. ดูเกมแก้จน ง. ดูอาการ ๓๒
 
๓๔. การเล่นใด เป็นข้าศึกแก่กุศล ?
  ก. เล่นกล ข. เล่นตลก
  ค. เล่นแร่แปรธาตุ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๕. ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ ไม่พึงนอนอย่างไร ?
  ก. นอนที่นอนสูง ข. นอนกลางวัน
  ค. นอนกลางดิน ง. นอนกรน
 
๓๖. การถือศีลอุโบสถ ปล่อยวันคืนให้ผ่านพ้นไปโดยเปล่าประโยชน์ 
คิดอยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้ตลอดเวลา เป็นอุโบสถประเภทใด ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. อริยอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. ปกติอุโบสถ
 
๓๗. อุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปฏิชาครอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. ปกติอุโบสถ
 
๓๘. อุโบสถใด ผู้สมาทานรักษาได้รับผลบุญมากที่สุด ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๙. ผู้สมาทานปกติอุโบสถ ต้องรักษาศีลอะไร ?
  ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘
  ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๒๒๗
 
๔๐. ข้อใด ไม่ใช่ศีลอุโบสถ ?
  ก. ไม่ใช้น้ำหอม ข. ไม่จับเงินทอง
  ค. ไม่ดูละครโขนหนัง ง. ไม่นั่งที่นั่งสูงใหญ่
 
๔๑. ข้อใด เป็นเหตุให้การถือศีลอุโบสถมีผลน้อย ?
  ก. จับเงินทอง ข. ถือศีลที่บ้าน
  ค. หงุดหงิดฟุ้งซ่าน ง. สมาทานเอง
 
๔๒. ผู้ถือศีลอุโบสถ พึงมีความเชื่ออย่างไร ?
  ก. เชื่อกรรม ข. เชื่อบาปบุญ
  ค. ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๓. คำว่า “ไม่ลวงโลก”  ในอุโปสถสูตร หมายถึงศีลข้อใด ?
  ก. งดฆ่าสัตว์ ข. งดลักทรัพย์
  ค. งดพูดเท็จ ง. งดดื่มน้ำเมา
 
๔๔. กิจกรรมใด ไม่เหมาะสมแก่ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ ?
  ก. ไหว้พระสวดมนต์ ข. ท่องบ่นภาวนา
  ค. อ่านตำราหมอดู ง. เรียนรู้พระสูตร
 
๔๕. ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
  ก. งดเว้นการทำบาปกรรม ข. ทำแต่บุญกุศล
  ค. ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๖. ศีลอุโบสถที่สมาทานคราวเดียวพร้อมกัน หากข้อใดข้อหนึ่งขาด
จะมีผลต่อข้ออื่นอย่างไร ?
  ก. ขาดบางข้อ ข. ขาดทีละข้อ
  ค. ขาดทั้งหมด ง. ไม่ขาดทั้งหมด
 
๔๗. เมื่อรักษาศีลอุโบสถครบตามกำหนดแล้ว พึงปฏิบัติอย่างไร ?
  ก. กล่าวคำลาพระรัตนตรัย ข. กล่าวคำลาศีล
  ค. กล่าวคำลาสิกขา ง. การสมาทานสิ้นสุดเอง
 
๔๘. แว่นที่มัวหมองทำให้ใสได้โดยทำความสะอาด แต่ใจที่เศร้าหมองนั้น
ต้องทำอย่างไร ?
  ก. อย่าใจร้อน ข. อย่านอนใจ
  ค. ให้นึกถึงศีล ง. ให้กินข้าวได้
 
๔๙. คำว่า “ศีลช่วยทำให้รอด”  มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ศีลสร้างสวรรค์แก่มนุษย์ ข. ศีลสร้างความปลอดภัยแก่มนุษย์
  ค. ศีลสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ ง. ศีลสร้างความรุ่งเรืองแก่มนุษย์
 
๕๐. ผู้ไม่สามารถเข้าจำอุโบสถศีลได้ ทำอย่างไรจึงจะได้รับผลบุญ
เช่นเดียวกับผู้สมาทานรักษา ?
  ก. ช่วยดูดวงทางวิปัสสนา ข. เล่าเรื่องนางสีดาให้ฟัง
  ค. นั่งสนทนาธรรมตามกาล ง. อ่านนวนิยายประโลมโลก
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๗. หน้า ๑๖๙-๑๗๗.
         

ข้อสอบสนามหลวง