ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับใคร ?
  ก. ภิกษุ ข. ภิกษุณี
  ค. สามเณร ง. อุบาสกอุบาสิกา
 
๒. อุโบสถศีล พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้กี่สิกขาบท ?
  ก. ๕ สิกขาบท ข. ๘ สิกขาบท
  ค. ๑๐ สิกขาบท ง. ๒๒๗ สิกขาบท
 
๓. อุโบสถศีลในพระพุทธศาสนา แบ่งประเภทตามระยะเวลาการรักษา
มีเท่าไร ?
  ก. ๒ ประเภท ข. ๓ ประเภท
  ค. ๔ ประเภท ง. ๕ ประเภท
 
๔. อุโบสถศีลที่กำหนดให้รักษาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. นิพัทธอุโบสถ
 
๕.

ปฏิชาครอุโบสถ มีระยะเวลาในกำรสมาทานรักษานานเท่าไร ?

  ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
  ค. ปีละ ๓ เดือน ง. ตลอดชีวิต
 
๖. อุโบสถที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๔ เดือนในฤดูฝน เรียกว่าอะไร ?
  ก. ปกติอุโบสถ ข. ปฏิชาครอุโบสถ
  ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ ง. อริยอุโบสถ
 
๗. อุโบสถประเภทใด ให้ผลมากแก่ผู้สมาทานรักษา ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. ถูกทุกข้อ
 
๘. อุโบสถใด เป็นการรักษาคำนึงถึงผลประโยชน์เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค ?
  ก. โคปาลกอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
  ค. อริยอุโบสถ ง. ปกติอุโบสถ
 
๙. ข้อใด เป็นอานิสงส์สูงสุดของการรักษาอุโบสถศีล ?
  ก. เข้าถึงสุคติ ข. มีโภคสมบัติ
  ค. มีสุขภาพแข็งแรง ง. เข้าถึงนิพพาน
 
๑๐. การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่าอะไร ?
  ก. ไตรลักษณ์ ข. ไตรสิกขา
  ค. ไตรภูมิ ง. ไตรสรณคมน์
 
๑๑. การขาดจากสรณคมน์ อาจเกิดขึ้นได้กับบุคคลใด ?
  ก. บุคคลทั่วไป ข. พระโสดาบัน
  ค. พระสกทาคามี ง. พระอนาคามี
 
๑๒. คำว่า อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
  ก. การจำพรรษา ข. การปฏิบัติธรรม
  ค. การเข้าจำ ง. การอดอาหาร
 
๑๓. การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เรียกว่าอะไร ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
  ค. อพรหมจรรย์ ง. มุสาวาท
 
๑๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้รักษาเป็นคนเช่นไร ?
  ก. ขยัน ข. อดทน
  ค. ซื่อสัตย์ ง. มีเมตตา
 
๑๕. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ย่อมได้รับผลกรรมอย่างไร ?
  ก. อายุสั้น ข. เสียทรัพย์
  ค. ก่อศัตรู ง. ขาดความเชื่อถือ
 
๑๖. ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
  ก. มีร่างกายสมบูรณ์ ข. มีสติสมบูรณ์
  ค. มีกำลังมาก ง. มีอายุยืน
 
๑๗. ข้อใด เป็นองค์ทำให้การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาด ?
  ก. สัตว์ตาย ข. ลักของมาได้
  ค. ยินดีในการเสพ ง. คนอื่นเข้าใจคำพูด
 
๑๘. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ให้งดเว้นการกระทำใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. ล่วงประเวณี ง. พูดเท็จ
 
๑๙. ความพยายามลักทรัพย์ เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อใดขาด ?
  ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒
  ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
 
๒๐. ข้อใด ขาดเพราะกระทำเองหรือใช้ให้คนอื่นกระทำ ?
  ก. อทินนาทาน ข. อพรหมจรรย์
  ค. สุราเมรัย ง. วิกาลโภชนา
 
๒๑. ยากจนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง เป็นโทษการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
  ค. มุสาวาท ง. สุราเมรัย
 
๒๒. ประพฤติงดเว้นจากการเสพเมถุน เป็นการรักษาอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ข้อที่ ๑ ข. ข้อที่ ๒
  ค. ข้อที่ ๓ ง. ข้อที่ ๔
 
๒๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ บัญญัติขึ้นเพื่อระงับกิเลสใด ?
  ก. ความกำหนัด ข. ความโกรธ
  ค. ความพยาบาท ง. ความริษยา
 
๒๔. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ให้งดเว้นการกระทำผิดทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ไตรทวาร
 
๒๕. ข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ ๓ ขาดโดยสมบูรณ์ ?
  ก. วัตถุที่จะเสพ ข. จิตคิดจะเสพ
  ค. พยายามเสพ ง. มีความยินดี
 
๒๖. การประพฤติพรหมจรรย์ในอุโบสถศีลข้อ ๓ ให้งดเว้นอะไร ?
  ก. การฆ่าสัตว์ ข. การลักทรัพย์
  ค. การเสพกาม ง. การดื่มสุรา
 
๒๗. การเจรจาให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เรียกว่าอะไร ?
  ก. อทินนาทาน ข. อพรหมจรรย์
  ค. มุสาวาท ง. สุราเมรัย
 
๒๘.

ข้อใด เป็นวัตถุประสงค์ของการบัญญัติอุโบสถศีลข้อที่ ๔ ?

  ก. ให้ขยัน ข. ให้ประหยัด
  ค. ให้ซื่อสัตย์ ง. ให้อดทน
 
๒๙. การแสดงความเท็จให้คนอื่นเข้าใจผิด ทำได้ทางใดบ้าง ?
  ก. กาย วาจา ข. กาย ใจ
  ค. วาจา ใจ ง. กาย วาจา ใจ
 
๓๐. ข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ขาดโดยสมบูรณ์ ?
  ก. สัตว์มีชีวิต ข. พยายามลัก
  ค. พยายามเสพ ง. คนอื่นเข้าใจตามที่พูด
 
๓๑. โทษของผู้ประพฤติผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ คือข้อใด ?
  ก. อายุสั้น ข. ล้มละลาย
  ค. ก่อศัตรู ง. ขาดความเชื่อถือ
 
๓๒. อุโบสถศีลข้อใด ทำให้ผู้รักษามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ?
  ก. ข้อ ๓ ข. ข้อ ๔
  ค. ข้อ ๕ ง. ข้อ ๖
 
๓๓. ข้อใด ไม่ใช่สิ่งเสพติดให้โทษในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. กัญชา ข. เฮโรอีน
  ค. ยาบ้า ง. ยานัตถุ์
 
๓๔. ข้อใด เป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. จิตคิดจะฆ่า ข. จิตคิดจะลัก
  ค. จิตคิดจะพูดให้ผิด ง. จิตคิดจะดื่ม
 
๓๕. ข้อใด เป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. อายุสั้น ข. ยากจน
  ค. ก่อศัตรู ง. เป็นบ้า
 
๓๖. อานิสงส์ของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ คือข้อใด ?
  ก. มีทรัพย์มาก ข. มีปัญญามาก
  ค. จิตผ่องใส ง. จิตไม่ฟุ้งซ่าน
 
๓๗. การไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล เป็นอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ข้อ ๒ ข. ข้อ ๔
  ค. ข้อ ๖ ง. ข้อ ๘
 
๓๘. คำว่า วิกาล ในอุโบสถศีล หมายถึงเวลาใด ?
  ก. เช้า ข. สาย
  ค. ก่อนเที่ยง ง. หลังเที่ยงถึงอรุณขึ้น
 
๓๙. วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ เว้นทางใด ?
  ก. กาย ข. วาจา
  ค. ใจ ง. กาย วาจา ใจ
 
๔๐. ข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ ๖ ขาดโดยสมบูรณ์ ?
  ก. เวลาวิกาล ข. ของนั้นเป็นอาหาร
  ค. พยายามกิน ง. ของล่วงลำคอลงไป
 
๔๑. ข้อใด เป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ?
  ก. เป็นบ้า ข. ล้มละลาย
  ค. หดหู่เซื่องซึม ง. ติดความสบาย
 
๔๒. อานิสงส์ของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๖ คือข้อใด ?
  ก. มีปัญญามาก ข. บรรเทากามคุณ
  ค. จิตผ่องใส ง. ชีวิตสมถะ
 
๔๓. การประดับกายด้วยของหอม เป็นข้องดเว้นของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๓
  ค. ข้อ ๕ ง. ข้อ ๗
 
๔๔. การร้องรำทำเพลง เป็นข้องดเว้นของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ข้อ ๕ ข. ข้อ ๖
  ค. ข้อ ๗ ง. ข้อ ๘
 
๔๕. คำว่า นัจจะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ แปลว่าอะไร ?
  ก. การฟ้อนรำ ข. การขับร้อง
  ค. ประโคมดนตรี ง. ดูการละเล่น
 
๔๖. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ ผู้สมาทานรักษาต้องงดเว้นการกระทำใด ?
  ก. ดูการละเล่น ข. ออกกำลังกาย
  ค. ทานเนื้อสัตว์ ง. ห้ามพูดคุยกัน
 
๔๗. คำว่า ข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงอะไร ?
  ก. ฟ้อนรำ ข. ขับร้อง
  ค. ดีดสีตีเป่า ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๘. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษาตัดกังวลเรื่องใด ?
  ก. การบริโภค ข. การนั่งนอน
  ค. การแต่งตัว ง. การสนทนา
 
๔๙. ที่นอนประเภทใด ทรงอนุญาตสำหรับผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ?
  ก. ที่นอนยัดนุ่น ข. ที่นอนยัดสำลี
  ค. ที่นอนวิจิตร ง. ที่นอนยัดผ้า
 
๕๐. ข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ ๘ ขาดโดยสมบูรณ์ ?
  ก. มีความยินดี ข. สำเร็จการดู
  ค. ตกแต่งเพื่อสวยงาม ง. นั่งนอนลงไป
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นโท-เอก และธรรมศึกษาตรี-โท-เอก พ.ศ.๒๕๕๙. หน้า ๘๗-๙๕.
         

ข้อสอบสนามหลวง