อธิบายศัพท์           
๑.  หิริ แปลว่า ความละอายแก่ใจ. ได้แก่ความละอายใจในการประพฤติชั่ว.
ท่านว่า   หิรินั้นมีความรังเกียจบาปมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นสักษณะ๑
หิริมีความเคารพยำเกรงเป็นลักษณะ๒   อธิบายว่า   บางคนเกิดความละอาย
อันมีความเคารพเป็นลักษณะโดยเหตุ  ๔  อย่างคือ   เคารพชาติตระกูลเป็น
สำคัญ  ๑  เคารพครูอาจารย์เป็นสำคัญ  ๑  เคารพทรัพย์มรดกเป็นสำคัญ ๑
เคารพคนประพฤติดีเป็นสำคัญ ๑   แล้วไม่กระทำความชั่ว.   และหิรินี้
มีเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน    อธิบายว่า   บางคนคำนึงถึงชาติ   วัย   กำลัง
ความรู้ของตนว่าเป็นอย่างนี้ ๆ  แล้ว   ปลงใจว่าไม่ควรทำบาป   แล้วก็ไม่ทำ
นี้ชื่อว่าเกิดความละอายเพราะเหตุภายใน.   อนึ่ง  หิริ   มีการปรารภตนเป็น
ใหญ่  อธิบายว่า  บางคนทำตนให้เป็นใหญ่   คำนึงว่าการทำบาปไม่ควรแก่
เราผู้มีภาวะอย่างนี้ ๆ  แล้วไม่ยอมทำบาป.  หิรินี้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยอาการที่
กระดากอายนั่นเอง   คือถ้าหมดยางอายเสียแล้วก็เป็นอันว่าไม่มีหิริ.   ท่าน
กล่าวอุปมาไว้ว่า   คนรักสวยรักงาม    เกลียดของสกปรก  รู้อยู่  ย่อมละอายไม่ย่อมแตะต้องก้อนเหล็กแม้เย็นแต่เปื้อนคูถฉันใด   คนมีหิริก็ไม่ยอมแตะ ต้องบาปอันเปรียบด้วยคูถฉันนั้น.
 ๒.  โอตตัปปะ  แปลว่า ความเกรงกลัว  ได้แก่ความหวาดกลัว
ผลชั่ว   ไม่กล้าทำเหตุชั่ว.   ในอภิธัมมัตถวิภาวินีว่า   โอตตัปปะนั้น   มี
ความสะดุ้งแต่บาปเป็นลักษณะ   ในอิติวุตตกวัณณนาว่า   โอตตัปปะ   มี
ความเป็นผู้กลัวโทษ  และเห็นแจ้งซึ่งภัยเป็นลักษณะ   อธิบายว่า   บางคน
เกิดความสะดุ้งอันมีความกลัวโทษเห็นภัยเป็นลักษณะโดยเหตุ ๔  อย่างคือ
กลัวตนเองติเตียนตนเองได้  ๑   กลัวผู้อื่นติเตียน ๑   กลัวอาชญา ๑  กลัว
ทุคติ  ๑  แล้วไม่ทำความชั่ว.   และโอตตัปปะ  มีเหตุภายนอกเป็นสมุฏ-
ฐาน.  อธิบายว่า   บางคนพิจารณาเห็นว่า  ถ้าเราทำชั่ว.  ก็จักถูกติเตียนใน
สังคม   วิญญูชนจักตำหนิรังเกียจเรา   เหมือนชาวเมืองเกลียดของโสโครก
เราถูกผู้มีศีลทอดทิ้งแล้ว   จักทำอย่างไร  ดังนี้แล้วไม่ทำความชั่ว   เพราะ
ความกลัวอันเกิดขึ้นจากเหตุภายนอก.  อนึ่ง  โอตตัปปะนี้มีการปรารภโลก
เป็นใหญ่.   อธิบายว่า   บางคนทำโลกให้เป็นใหญ่   คือปรารภว่าโลกนี้
กว้างใญ่ไพศาล   พวกมีฤทธิ์  ตาทิพย์   หูทิพย์  และรู้จิตคนอื่นมีอยู่   เขา
คงรู้เห็น   หากเราทำชั่วแม้ในที่ไกลที่ลับอย่างไร   เขาคงติเตียนได้   ดังนี้
แล้วไม่ทำชั่ว.  โอตตัปปะนี้   ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความกลัวอบายคือความเสื่อม
กล่าวคือ    ถ้าไม่กลัวความเสื่อมความพินาศฉิบหายแล้ว   ก็เป็นอันว่าไม่มี
โอตตัปปะ   ท่านกล่าวอุปมาไว้ว่า   คนผู้รักชีวิต  รู้อยู่   ย่อมเกรงกลัวไม่กล้า
จับเหล็กที่ร้อน   หรืออสรพิษ   หรือสัตว์ร้ายฉันใด   คนมีโอตตัปปะย่อม
ไม่กล้าแตะต้องความชั่วอันเปรียบด้วยของร้าน   หรืออสรพิษ  หรือสัตว์ร้าย
ฉันนั้น.
อธิบายชื่อหมวดธรรม
หิริ   และ  โอตตัปปะ   ทั้งสองนี้  ชื่อว่า   เป็นโลกบาล  คุ้มครองโลก
โดยอธิบายว่า   ธรรมเหล่านี้ย่อมคุ้มครอง   คือป้องกันรักษาโลกคือหมู่สัตว์
อันได้แก่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในโลกทุกจำพวก    ให้ดำรงอยู่โดยสันติสุขตามวิสัย
ของสัตวโลก.   กฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า  กรรมดีเป็นเหตุแห่งสุข    กรรมชั่ว
เป็นเหตุแห่งทุกข์  ผู้ทำกรรมอย่างใด    ย่อมได้รับผลอย่างนั้น    และผลนั้น
บางอย่าง   บางคราว   กระทบกระเทือนไปถึงผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วยไม่มากก็
น้อย   ถึงเช่นนั้นก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยินดีพอใจทำกรรมชั่วในที่
เปิดเผยบ้าง   ลี้ลับบ้าง   ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบความทุกข์  แต่ก็จำต้องได้รับทุกข์
ระทมขมขื่น   ดังที่เห็น ๆ กันอยู่   การที่เป็นเช่นนี้   ก็เพราะผู้ทำกรรมชั่ว
นั้น  ขาดหิริโอตตัปปะนี้เอง.  เมื่อขาดธรรมะสองข้อนี้แล้วจะทำชั่วอย่างใด
ก็ได้   ในบาลีกล่าวว่าสัตวโลกก็จะพึงสมสู่กันเหมือนสัตว์ดิรัจฉานโดยไม่มี
การเคารพยำเกรงว่า  ผู้นี้เป็นมารดา  ป้า  น้า  พี่  น้อง  ครูอาจารย์  เป็นต้น.
ใครเล่าจะห้ามปรามเขาได้   เมื่อสัตวโลกทำชั่วแล้ว   ใครเล่าจะคุ้มครอง
โลกให้ตั้งอยู่ในสันติสุขได้   หลวงพ่อขลัง  ๆ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์    หรือผู้มีฤทธิ์
อำนาจ   แม้พระราชกำหนดกฎหมายก็คุ้มไม่อยู่.   แต่ถ้าสัตวโลกมีธรรม
สองประการนี้ประจำใจกันแล้ว    แม้ไม่มีหลวงพ่อขลัง  ๆ   จนกระทั่ง
กฎหมายก็ไม่ต้องมี   ธรรมสองประการนี้ยังคุ้มอยู่ได้.   เพราะผู้มีหิริโอต-
ตัปปะประจำใจ  ย่อมรังเกียจเกลียดกลัวต่อความชั่ว  ไม่กล้าทำชั่วทุกอย่าง
ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง   รู้จักเหนี่ยวรั้งยับยั้งปราบปรามจิตใจไม่ให้ประพฤติ
ชั่ว     เมื่อต่างไม่ประพฤติชั่ว         ความเบียดเบียนกันและกันก็จะไม่มี
คนทั้งหลายก็จะอยู่เย็นเป็นสุข     ไม่มีทุกข์เดือดร้อน    ต่างตั้งหน้าทำมา
หากินด้วยความสุจริต    โลกก็ปราศจากความวุ่นวาย   ได้ประสบสันติสุข เพราะฉะนั้น    หิริและโอตตัปปะทั้งสองจึงชื่อว่าเป็นธรรมคุ้มครองโลก
ดังนี้แล.
     อนึ่ง  ธรรมสองประการนี้เรียกว่า   สุกกธรรม   ก็มี  เพราะเป็นธรรม
ฝ่ายกุศลอันเปรียบด้วยสีขาวและเป็นไปเพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต.  เรียกว่า
เทวธรรม ก็มี เพราะเป็นธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา  หรือให้เป็นผู้รุ่งเรือง.
คำถามสอบความเข้าใจ
๑. อะไรเป็นลักษณะของหิริและโอตตัปปะ ?  มีอธิบายอย่างไร ?
๒. หิริและโอตตัปปะ  มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?   จงอธิบาย ?
๓. หิริและโอตตัปปะ  มีอะไรเป็นใหญ่ ?   ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร ?
๔. จงยกอุปมาแห่งหิริโอตตัปปะมาดู ?
๕. ทางโลกมีองค์การสำหรับรักษาสันติภาพของโลก  
    ทางธรรมก็มีหิริโอตตัปปะเป็นธรรมคุ้มครองโลก  
    ขอถามว่า ธรรมทั้งสองนี้ คุ้มครองโลกได้อย่างไร ?

     ดอกเอ๋ย   ดอกกระดังงา           
รจนา   กลีบแย้ม   แซมเกษร

หอมละมุน   กรุ่นช่อ   อรชร                 
สีเหลืองอ่อน  อบกลิ่น  น่ายินดี.

     เมื่อมนุษย์   มากหลาย  ทั้งชายหญิง         
ไม่ละทิ้ง  ธรรมะ  พระชินสีห์

คอยอบรม  บ่มนิสัย   หทัยดี                                  
สุมาลี  มิหอมล้น  สุมนเอย.

ศรี  ฯ  นคร.

 
หนังสืออ้างอิง : นวโกวาท หน้า ๒๘, ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๔-๗.
สาระการเรียนรู้
ธรรมวิภาค
ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก
ธรรมเป็นโลกบาล
ธรรมอันทำให้งาม
บุคคลหาได้ยาก
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ
คุณของรัตนะ
อาการที่ทรงสั่งสอน
โอวาท
ทุจริต
สุจริต
อกุศลมูล
กุศลมูล
สัปปุริสบัญญัติ
อปัณณกปฏิปทา
บุญกิริยาวัตถุ
สามัญญลักษณะ
จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฑฒิ
จักร
อคติ
อันตราย
ปธาน
อธิษฐานธรรม
อิทธิบาท
ควรทำความไม่ประมาท
ปาริสุทธิศีล
อารักขกัมมัฏฐาน
พรหมวิหาร
สติปัฏฐาน
ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
อนันตริยกรรม
อภิณหปัจจเวกข์
เวสารัชชกรณธรรม
องค์แห่งภิกษุใหม่
องค์แห่งธรรมกถึก
ธัมมัสสวนานิสงส์
พละ
นิวรณ์
ขันธ์
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ
สาราณิยธรรม
อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก
วิญญาณ
สัมผัส
เวทนา
ธาตุ
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม
อริยทรัพย์
สัปปุริสธรรม
โพชฌงค์
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย
มรรค
นวกะ คือ หมวด ๙
มละ
ทสกะ คือ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ
บุญกิริยาวัตถุ
ธรรมที่ควรพิจารณา
นาถกรณธรรม
กถาวัตถุ
อนุสสติ
ปกิณณกะ คือ
หมวดเบ็ดเตล็ด
อุปกิเลส ๑๖
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
คิหิปฏิบัติ
จตุกกะ
กรรมกิเลส
อบายมุข
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
สัมปรายิกัตถประโยชน์
มิตตปฏิรูป
มิตรแท้
สังคหวัตถุ
สุขของคฤหัสถ์
ความปรารถนาที่ได้ยาก
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย
ตระกูลมั่งคั่ง
ธรรมของฆราวาส
ปัญจกะ
ประโยชน์การถือโภคทรัพย์
ศีล
มิจฉาวณิชชา
สมบัติของอุบาสก
ฉักกะ
ทิศ
- ทิศเบื้องหน้า
- ทิศเบื้องขวา
- ทิศเบื้องหลัง
- ทิศเบื้องซ้าย
- ทิศเบื้องต่ำ
- ทิศเบื้องบน
อบายมุข
- ดื่มน้ำเมา
- เที่ยวกลางคืน
- เที่ยวดูการเล่น
- เล่นการพนัน
- คบคนชั่วเป็นมิตร
- เกียจคร้านทำการงาน