อธิบายศัพท์          
๑.  สติ  แปลว่าความระลึก  หรือความระลึกได้  สติ
มีความระลึก
เป็นลักษณะ   มีความไม่ลืมเลือนเป็นกิจ   มีการควบคุมเป็นเครื่องปรากฏ
[๑]
หมายความว่า   ลักษณะเครื่องกำหนดของสตินั้น  ก็คือความระลึกหรือนึกคิด
ได้ใน  ๓  กาล   กล่าวคือ   ระลึกถึงการที่เคยทำ   คำที่เคยพูด   รูปที่เคย
เห็น   เสียงที่เคยฟัง   กลิ่นที่เคยสูด   รสที่เคยลิ้ม   โผฏฐัพพะที่เคยถูกต้อง
ธรรมะคือเรื่องราวต่าง ๆ   ที่เคยเล่าเรียนเขียนอ่านในกาลก่อน   นี้เรียกว่า
ระลึกอดีตกาลได้  ๑  ระลึกถึงการที่กำลังทำหรือกำลังจะทำ   คำที่กำลังพูด
หรือกำลังจะพูด   เรื่องที่กำลังคิด   ได้แก่การตั้งสติกำหนดระลึกนึกคิดใน
เรื่องกายเวทนาจิตและธรรม   ตามแนวสติปัฏฐาน   นี้เรียกว่าระลึกปัจจุบันกาล
ได้ ๑,  ระลึกถึงเรื่องอันจะพึงเกิดมีในกาลข้างหน้า   เช่นความตายอัน
จะมีแก่ตนและบุคคลอื่น   นี้เรียกว่าระลึกเรื่องอนาคตกาลได้ ๑,  กิจหรือ
หน้าที่ของสตินั้น   ก็คือการไม่ลืมเรื่องอดีต   ระลึกได้ทุกครั้งที่ต้องการ,
ไม่เลื่อนลอยเผลอตัวในเรื่องปัจจุบัน, ไม่หวาดหวั่นฟุ้งเฟ้อในเรื่องอนาคต.
เครื่องปรากฏของสตินั้น  ก็คือมีการป้องกันรักษาซึ่งการทำ  การพูด การคิด
ทั้ง  ๓  กาลไว้มิให้หันเหไปในทางผิดตามกิเลส   ระวังให้ตั้งอยู่
เฉพาะในทางถูกเท่านั้น     ประดุจนายสารถีผู้ไม่ประมาทคอยบังคับรถเรือ
ให้แล่นไปโดยปลอดภัยฉะนั้น.
๒.  สัมปชัญญะ   แปลว่าความรู้ตัว   สัมปชัญญะ
มีความไม่ฟั่นเฟือน
เป็นลักษณะ   มีความไตร่ตรองเป็นกิจ   มีความเลือกเฟ้นเป็นเครื่องปรากฏ
[๑]
หมายความว่า   ลักษณะของสัมปชัญญะนี้  ได้แก่ความรู้ทั่ว   รู้ชัดโดยถูก
ต้อง  ไม่ใช่หลง ๆ  ลืม ๆ  หลับ ๆ ตื่น ๆ  ฟั่นเฟือนในขณะยืน   เดิน  นั่ง
นอน   กิน   ดื่ม   ทำ  พูด  คิด  เป็นต้น  รู้สึกตัวดีอยู่   ตื่นตัวดีอยู่ว่ากำลัง
ยืน   เดินเป็นต้น.   กิจหรือหน้าที่ของสัมปชัญญะนั้น   ได้แก่การพิจารณา
ถึงคุณโทษเป็นต้น   ชิงขึ้นหน้าคอยกุมแจอยู่ทุกอิริยาบถ.  เครื่องปรากฏ
ของสัมปชัญญะนี้    ได้แก่การเลือกเฟ้นไตร่ตรองประจำอยู่ทุกอิริยาบถใน
ปัจจุบัน  ไม่ส่งใจไปอื่น.

๑.  คัมภีร์วิสุทธิมรรค  ๑/๒๐๗
อธิบายชื่อหมวดธรรม
สติและ สัมปชัญญะ   ทั้งสองนี้  ชื่อว่า  มีอุปการะมาก  เพราะ
เป็นอุปการธรรมอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางดีก็ได้   ทางชั่วก็ได้.  
แต่ในที่นี้หมายเอาเฉพาะในทางดี. ท่านกล่าวว่า   ที่ชื่อว่ามีอุปการะมาก   เพราะเป็นเครื่องนำมาซึ่ง ประโยชน์เกื้อกูลในกิจการทุกอย่าง     เหมือนความไม่ประมาท     เป็นอุปการะในการบำเพ็ญศีลเป็นต้น ๑.   หมายความว่า   ธรรม ๒  ประการนี้  มีอยู่แก่ผู้ใด   ผู้นั้นกระทำกิจใด ๆ  จะบำเพ็ญศีล   เจริญสมาธิ   ปัญญาก็ตาม จะเล่าเรียนเขียนอ่านก็ตาม   ประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม   โดยที่สุดแม้จะลุกจะนั่งจะยืน
จะเดิน โดยมีสติสัมปชัญญะเสมอ   กิจนั้น ๆ  ย่อมสำเร็จด้วยดี  
ไม่ผิดพลาด   ปราศจากภยันตรายทุกประการ ในที่ทุกสถาน  และในกาล
ทุกเมื่อ  เพราะฉะนั้น  ธรรม ๒ ประการนี้   จึงชื่อว่ามีอุปการะมาก ดังนี้แล.
คำถามสอบความเข้าใจ
๑.  สติมีลักษณะอย่างไร ?
๒.  สัมปชัญญะมีลักษณะอย่างไร ?
๓.  สติกับกับปชัญญะมีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๔.  อะไรเป็นเครื่องปรากฏของสติและสัมปชัญญะ ?
๕.  เพราะเหตุใด สติและสัมปชัญญะ จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
 
หนังสืออ้างอิง : นวโกวาท หน้า ๒๘, ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๑-๓.
สาระการเรียนรู้
ธรรมวิภาค
ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก
ธรรมเป็นโลกบาล
ธรรมอันทำให้งาม
บุคคลหาได้ยาก
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ
คุณของรัตนะ
อาการที่ทรงสั่งสอน
โอวาท
ทุจริต
สุจริต
อกุศลมูล
กุศลมูล
สัปปุริสบัญญัติ
อปัณณกปฏิปทา
บุญกิริยาวัตถุ
สามัญญลักษณะ
จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฑฒิ
จักร
อคติ
อันตราย
ปธาน
อธิษฐานธรรม
อิทธิบาท
ควรทำความไม่ประมาท
ปาริสุทธิศีล
อารักขกัมมัฏฐาน
พรหมวิหาร
สติปัฏฐาน
ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
อนันตริยกรรม
อภิณหปัจจเวกข์
เวสารัชชกรณธรรม
องค์แห่งภิกษุใหม่
องค์แห่งธรรมกถึก
ธัมมัสสวนานิสงส์
พละ
นิวรณ์
ขันธ์
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ
สาราณิยธรรม
อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก
วิญญาณ
สัมผัส
เวทนา
ธาตุ
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม
อริยทรัพย์
สัปปุริสธรรม
โพชฌงค์
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย
มรรค
นวกะ คือ หมวด ๙
มละ
ทสกะ คือ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ
บุญกิริยาวัตถุ
ธรรมที่ควรพิจารณา
นาถกรณธรรม
กถาวัตถุ
อนุสสติ
ปกิณณกะ คือ
หมวดเบ็ดเตล็ด
อุปกิเลส ๑๖
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
คิหิปฏิบัติ
จตุกกะ
กรรมกิเลส
อบายมุข
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
สัมปรายิกัตถประโยชน์
มิตตปฏิรูป
มิตรแท้
สังคหวัตถุ
สุขของคฤหัสถ์
ความปรารถนาที่ได้ยาก
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย
ตระกูลมั่งคั่ง
ธรรมของฆราวาส
ปัญจกะ
ประโยชน์การถือโภคทรัพย์
ศีล
มิจฉาวณิชชา
สมบัติของอุบาสก
ฉักกะ
ทิศ
- ทิศเบื้องหน้า
- ทิศเบื้องขวา
- ทิศเบื้องหลัง
- ทิศเบื้องซ้าย
- ทิศเบื้องต่ำ
- ทิศเบื้องบน
อบายมุข
- ดื่มน้ำเมา
- เที่ยวกลางคืน
- เที่ยวดูการเล่น
- เล่นการพนัน
- คบคนชั่วเป็นมิตร
- เกียจคร้านทำการงาน