ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.



   
๑. ๑.๑ พระวินัย คืออะไร ?
๑.๒ สิกขา ๓ เมื่อศึกษาแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ?
   
๒. ๒.๑ สิกขากับสิกขาบทต่างกันอย่างไร ?
๒.๒ สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
   
๓. ๓.๑ คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ?
ก) อาทิกัมมิกะ
ข) อเตกิจฉา
๓.๒ อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
   
๔. ๔.๑ คำว่า "ไถยจิต" หมายถึงอะไร ?
๔.๒ ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติ
ไว้อย่างไรบ้าง
?
   
๕. ๕.๑ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์เช่นไร ?
๕.๒ การถือเอาทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้น กำหนดว่าถึงที่สุดไว้อย่างไร ?
   
๖. ๖.๑ ปาราชิก ๔ สิกขาบทไหนที่ภิกษุใช้ให้เขาทำก็ต้องอาบัติถึงที่สุด ?
๖.๒ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทไหนบ้างต้องอาบัติตั้งแต่แรกทำ ?
มีชื่อเรียกอย่างไร ?
   
๗. ๗.๑ ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกะเทย บุรุษ และสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
เป็นอาบัติอะไร
?
๗.๒ อาบัติไม่มีมูล กำหนดโดยอาการอย่างไร ?
โจทด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติอะไร ?
   
๘. ๘.๑ ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ทำด้วยวัตถุกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
๘.๒ จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย
อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควร ? เพราะเหตุใด
?
   
๙. ๙.๑ ภิกษุพูดปดต้องอาบัตินั้นทราบแล้ว แต่ถ้าพูดเรื่องจริง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
๙.๒ ปฏิสสวะทุกกฏ คืออะไร ?
   
๑๐. ๑๐.๑ การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร ?
๑๐.๒ เสขิยวัตรว่าด้วยการรับบิณฑบาตมีหลายข้อ จงระบุมาเพียง ๒ ข้อ
   
เอกสารอ้างอิง
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๕. หน้า .
สำเนาข้อสอบจริง ปี ๒๕๔๕.
   

ข้อสอบสนามหลวง